บทเรียนออนไลน์
รายวิชาเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บทเรียนออนไลน์
รายวิชาเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บทที่ 4
การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การออกแบบโปรแกรม เป็นการอธิบายการทำงานของโปรแกรมอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการออกแบบโปรแกรมสามารถทำได้ทั้งการเขียนข้อความ และการเขียนผังงาน การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนข้อความโปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นบล็อกโปรแกรม (block) นำมาต่อกันเพื่อสร้างรหัสคำสั่ง (Code) เพื่อสั่งให้โปรแกรม Scratch ทำงานตามที่ได้เขียนโปรแกรมไว้ สามารถนำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์เชิงสร้างสรรค์ โดยต้องกำหนดตัวแปร เขียนโปรแกรมอย่างมีเงื่อนไข
ตัวชี้วัดปลายทาง
ว 4.2 ป.6/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข
เนื้อหา
การออกแบบโปรแกรม (Program) เป็นการเขียนขั้นตอนหรือลำดับการทำงาน อัลกอริทึม (Algorithm) เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจโดยการออกแบบโปรแกรมจะต้องเรียง ลำดับขั้นตอน (Order) อย่างละเอียดเป็นขั้นตอนไม่สลับกันโดยสามารถออกแบบโปรแกรมได้หลายแบบ เช่น การเขียนข้อความสตอรี่บอร์ด (Storyboard) ผังงาน (Flowchart)
ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (Programming language)
เมื่อออกแบบโปรแกรมเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกภาษาทีี่ใช้ในการเขียนโปรแกรม โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมีหลากหลาย ดังนั้นควรเลือกภาษาที่ผู้เขียนถนัด เช่น โปรแกรม Scratch เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือ ภาษา C ภาษา HTML Java Python
การกำหนดค่าตัวแปร (Variable) คือ การระบุค่าหรือการตั้งค่าข้อมูลเข้า เพื่อนำมาประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลออกหรือผลลัพธ์ของปัญหาโดยการกำหนดชื่อและค่าของตัวแปร ชื่อของตัวแปร สามารถกำหนดเป็น ข้อมูลตัวอักษร ค่าของตัวแปร สามารถกำหนดเป็น ตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
การกำหนดเงื่อนไข (If…else)
เป็นการออกแบบและเขียนโปรแกรมโดยใช้เงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาเพื่อให้โปรแกรมตัดสินใจทำงานตามเงื่อนไขและได้ผลลัพธ์ตามที่ได้กำหนดไว้
การทำงานวนซ้ำ (Loop)
คือการออกแบบและเขียนโปรแกรมการทำงานที่มี คำสั่งซ้ำหลายๆ รอบ ประโยชน์คือ ทำให้การออกแบบโปรแกรมสั้น กระชับ เข้าใจง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การหาข้อผิดพลาด (Debugging)
คือ การหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมซึ่งหากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ซึ่งการฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมจะช่วยให้พัฒนาทักษะการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น